รูปแบบการใช้งาน สถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
ยานยนต์ไฟฟ้า
9 พฤศจิกายน 2564
25
0
0

 

**รูปเเบบการใช้งานสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า**
.
ปัจจุบัน รูปเเบบการใช้งานสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สาย สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ และการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สาย โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียด ดังนี้

1  การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สาย
การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สายเป็นรูปแบบการอัดประจุหลักที่ทุกประเทศทั่วโลกเลือกใช้ เนื่องด้วยมีความคุ้มค่าในการลงทุน มีประสิทธิภาพสูง และสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการจัดการพลังงานได้ โดยสามารถจำแนกการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สายตามระดับกำลังไฟฟ้าที่ใช้ได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
.
1.1) การอัดประจุแบบช้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Slow Charge) เป็นการอัดประจุระดับ 1 (Level 1) ซึ่งเป็นรูปแบบการอัดประจุที่พื้นฐานที่สุดและถูกใช้มากที่สุดทั่วโลก แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในลักษณะของสถานีบริการเฉพาะหรือสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากใช้เวลาในการอัดประจุที่นาน
.
1.2) การอัดประจุแบบปกติด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Normal Charge) เป็นการอัดประจุระดับ 2 (Level 2) สามารถอัดประจุด้วยกำลังไฟฟ้าสูงสุด 22 กิโลวัตต์ เหมาะสำหรับการอัดประจุในพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ผู้ใช้ไม่รีบร้อนมากหรือต้องจอดรถไว้เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น ลานจอดรถ และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ การอัดประจุในรูปแบบนี้สามารถดำเนินการได้ที่บ้านเช่นเดียวกัน
.
1.3) การอัดประจุแบบเร็ว (Fast Charge) การอัดประจุแบบเร็วนั้น มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การอัดประจุแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fast Charge) การอัดประจุแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Fast Charge) ซึ่งทั้งสองรูปแบบสามารถทำการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าจนถึงระดับ 80% ภายในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม เครื่องอัดประจุแบบเร็วมีความต้องการพลังไฟฟ้าที่สูง อีกทั้งยังมีราคาที่แพงกว่ามากอย่างมีนัยสำคัญในด้านการติดตั้งและด้านปฏิบัติการ จึงถูกใช้ในสถานีอัดประจุที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากและผู้ใช้บริการเหล่านั้นต้องการความรวดเร็ว
.
2  สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping Stations, BSS) เป็นสถานีอัดประจุแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่ดำเนินการโดยอัดประจุแบตเตอรี่ไว้ล่วงหน้าเพื่อรอการสับเปลี่ยนกับแบตเตอรี่ที่มีค่าสถานะของประจุที่ต่ำกว่า การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นวิธีการถ่านโอนพลังงานไฟฟ้าที่รวดเร็วกว่ามากแม้เทียบกับการอัดประจุแบบเร็วก็ตาม โดยทั่วไปการเปลี่ยนแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กนั้นง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไป ผู้ขับขี่สามารถดำเนินการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ด้วยตนเองได้ ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่นิยมใช้วิธีนี้คือ รถสองล้อไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
.
3  การอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สาย
การถ่ายโอนพลังงานเข้าสู่แบตเตอรี่ในรูปแบบไร้สายจะทำให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอัดประจุแบบไร้สายในขณะที่ยานยนต์จอดอยู่กับที่ หรือจะเป็นการอัดประจุแบบไร้สายในขณะที่ยานยนต์กำลังเคลื่อนที่อยู่ก็ตาม
.
#สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน #สนพ
#เราสร้างสรรค์เพื่อทุกคน #CreateTheFutureEnergy
#กระทรวงพลังงาน

R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
13 ตุลาคม 2563
20
วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2563 เข้าร่วมพิธีน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ศาลากลางจังหวัดนครนายก

Hover Icon
18 พฤศจิกายน 2563
10
”หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มและความปรองดองสมานฉันท์ให้ประชาชนจังหวัดนครนายก” ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

วันพุธที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ สำนักงานพลังงานจังหวัดนครนายก นำโดย นางประภาเพ็ญ ศุภราช พลังงานจังหวัดนครนายก ร่วมโครงการ ”หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มและความปรองดองสมานฉันท์ให้ประชาชนจังหวัดนครนายก” ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

Hover Icon
25 พฤศจิกายน 2563
9
เข้าร่วมพิธีวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ”วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”

วันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เข้าร่วมพิธีวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ”วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดนครนายก (สาริกา) ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก